สัมมนาอนุ กก.จังหวัดภาคใต้ ขับเคลื่อนกองทุนฟื้นฟูฯ

วันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ 2568 ณ โรงเเรมบรรจงบุรี จ.สุราษฏร์ธานี

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูเเละพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุง นำโดย นางสาวนิธิมา บินตำมะหงง หัวหน้าสาขา นำทีมเหล่าอนุกรรมการ พนักงานสาขา ร่วมอบรมสัมมนาอนุกรรมการจังหวัดภาคใต้ โดยวันที่ 25 ก.พ. 68 ศ. ดร. นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้ นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดการสัมมนาจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2568 และสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดภาคใต้ นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีองค์ประกอบที่เรียกว่าคณะอนุกรรมการจังหวัด ในสาขาจังหวัด 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยมีบทบาทหน้าที่ในการเสนอนโยบาย แผนงานและงบประมาณประจำปีของสำนักงานสาขาจังหวัด กำกับดูแล ให้คำปรึกษา และแนะนำแก่สำนักงานสาขาจังหวัด สนับสนุนงานในด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกร และด้านการประชาสัมพันธ์ผลงาน ตลอดจนการประสานกับหน่วยงานภาคีภายนอก

ประชุมอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2568

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13:30 น.

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุง โดยนางสาวนิธิมา บินตำมะหงง ในนามอนุกรรมการเเละเลขานุการ จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ครั้งที่ 2 /2568 โดยมีนายสมมารถ ลักษณะ เป็นประธานในที่ประชุม พิจารณาวาระในคราวประชุม

✅ พิจารณาแผนปฏิบัติงานประจำเดือนมีนาคม 2568

✅ การดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานของอนุกรรมการฯ

✅ พิจารณาแผนงานประชาสัมพันธ์

✅พิจารณา เพิ่มเติมสมาชิกในองค์กรเดิมจำนวน 6 องค์กร สมาชิก 9 ราย

✅พิจารณารับรองการขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร จำนวน 26 ราย 57 บัญชี มูลหนี้ 27,647,407.69 บาท

พร้อมทั้ง ส่งมอบแบบประสงค์เข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ตามมติคณะรัฐมนตรี 11 ธันวาคม 2567 และเกษตรกรได้เข้ามาใช้สิทธิดังกล่าวเพื่อแสดงตัวตนเข้าร่วมโครงการฯ โดยได้จัดทำแบบ ปคน. 1 แบบ ปคน. 2 และ แบบ ผค 1 / 4 ให้กับ ธกส. จำนวน 252 ฉบับ

ณ ห้องประชุมบ้านสวนพฤกษา รีสอร์ท จ.พัทลุง

ร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลประกอบการดำเนินงานของคณะทำงาน

วันที่ 22- 23 กุมภาพันธ์ 2568สำนักงานกองทุนฟื้นฟูเเละพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุง โดย นางสาวนิธิมา บินตำมะหงง หัวหน้าสาขาจังหวัดพัทลุง ร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลประกอบการดำเนินงานของคณะทำงาน เมื่อคราวประชุมคณะทำงานสนับสนุนด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามภารกิจ ของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (คณะภูมิภาคที่ 4) โดยให้ข้อมูลประกอบการดำเนินการของคณะทำงาน ดังนี้

👉ข้อมูลแผน/โครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ผ่านการกลั่นกรองของคณะอนุกรรมการจังหวัด

👉เสนอเเผนปฏิบัติงานการพัฒนาแผน/โครงการที่ยังไม่ได้เสนอคณะอนุกรรมการจังหวัด

👉รายงานข้อมูลเกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้แล้วเพื่อนำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูหลังการจัดการหนี้

ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสงขลา ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา

โอนหลักประกันของเกษตรกรที่ได้รับการซื้อทรัพย์ กรณีหนี้ NPA ธนาคารกสิกรไทย

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุงโดยหัวหน้า สำนักงานสาขาจังหวัด นางสาวนิธิมา บินตำมะหงง ได้มอบอำนาจช่วงให้ นางสาวสิริพร หมัดเลขา พนักงานอาวุโส โอนหลักประกันของเกษตรกรที่ได้รับการซื้อทรัพย์ กรณีหนี้ NPA ธนาคารกสิกรไทย เป็นของกองทุนฯ จำนวน 1 ราย หลักประกัน 1 แปลง ณ สำนักงานที่ดินอำเภอหากใหญ่ จ.สงขลา โดยเกษตรกรทำสัญญาเช่าซื้อจากกองทุนฯ ในระยะยาว และไม่มีดอกเบี้ย 🧡

โอนหลักประกัน(โฉนดที่ดิน )คืนเกษตรกร

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุง โดย นางสาวนิธิมา บินตำมะหงง หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดพัทลุง ซึ่งได้รับมอบหมายให้ นางสาวสิริพร หมัดเลขาพนักงานอาวุโส โอนหลักประกัน(โฉนดที่ดิน )คืนเกษตรกร

ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดพัทลุงสาขาควนขนุน ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ซึ่งเกษตรกรได้ทำอาชีพเกษตรกรรม..ต่อไป

กฟก.พัทลุง ลุยจัดทำเเบบ ปคน1 ปคน2 เเละเเบบ ผค.1/4 อย่างต่อเนื่อง

ตามที่มีประกาศรายชื่อเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับสิทธิปรับโครงสร้างหนี้ตามมติครม.ลูกหนี้ 4 แบงค์รัฐ จังหวัดพัทลุง มีเกษตรกรได้รับสิทธิจำนวน 349 รายในช่วงเดือนที่ผ่านมา ได้มีเกษตรกรเข้ามาเเสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการ เเละจัดทำเเบบ ปคน1 ปคน2 เเละเเบบ ผค.1/4 อย่างต่อเนื่อง

📌สำนักงานสาขาจังหวัดได้ตรวจสอบเอกสาร เเละเตรียมเอกสารเพื่อนำส่งสถาบันเจ้าหนี้ เพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเเละจัดทำสัญญาตามกระบวนการขั้นตอนต่อไป💯🌟

โอนหลักประกันของเกษตรกรที่ได้รับการ ชำระหนี้แทน เป็นของกองทุนฯจำนวน 1 ราย หลักประกัน 2 แปลง

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุงโดยหัวหน้า สำนักงานสาขาจังหวัด นางสาวนิธิมา บินตำมะหงง ได้มอบอำนาจช่วงให้ นางสาวสิริพร หมัดเลขา พนักงานอาวุโส โอนหลักประกันของเกษตรกรที่ได้รับการ ชำระหนี้แทน เป็นของกองทุนฯจำนวน 1 ราย หลักประกัน 2 แปลง ณ สำนักงานที่ดินปากพะยูน โดยเกษตรกรทำสัญญาเช่าซื้อจากกองทุนฯ ในระยะยาว และไม่มีดอกเบี้ย

โอนหลักประกันของเกษตรกรที่ได้รับการ ชำระหนี้แทน เป็นของกองทุนฯจำนวน 1 ราย

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุงโดยหัวหน้า สำนักงานสาขาจังหวัด นางสาวนิธิมา บินตำมะหงง ได้มอบอำนาจช่วงให้ นางสาวสิริพร หมัดเลขา พนักงานอาวุโส โอนหลักประกันของเกษตรกรที่ได้รับการ ชำระหนี้แทน เป็นของกองทุนฯจำนวน 1 ราย หลักประกัน 3 แปลง โดยเกษตรกรทำสัญญาเช่าซื้อจากกองทุนฯ ในระยะยาว และไม่มีดอกเบี้ย

โอนหลักประกันของเกษตรกรที่ได้รับการ ชำระหนี้แทน เป็นของกองทุนฯจำนวน 1 ราย

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุงโดยหัวหน้า สำนักงานสาขาจังหวัด นางสาวนิธิมา บินตำมะหงง ได้มอบอำนาจช่วงให้ นางสาวสิริพร หมัดเลขา พนักงานอาวุโส โอนหลักประกันของเกษตรกรที่ได้รับการ ชำระหนี้แทน เป็นของกองทุนฯจำนวน 1 ราย หลักประกัน 3 แปลง โดยเกษตรกรทำสัญญาเช่าซื้อจากกองทุนฯ ในระยะยาว และไม่มีดอกเบี้ย

ชำระหนี้แทนเกษตรกร กรณีสถาบันเกษตรกร จำนวน 4 ราย

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมาสำนักงานทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพัทลุง..โดยนางสาวนิธิมา บินตำมะหงง พร้อมด้วย..ประธานอนุกรรมการจังหวัดพัทลุงนายสมมารถ ลักษณะ สหกรณ์จังหวัดพัทลุง นายสมศักดิ์ บุญโยม ทั้งนี้รวมถึงอนุกรรมการและบุคลากรสำนักงานฯได้ร่วมชำระหนี้แทนเกษตรกร กรณีสถาบันเกษตรกร จำนวน 4 ราย ประกอบด้วย 👉👉👉

🍀สหกรณ์การเกษตรตะโหมด จำกัด..1 ราย

🍀สหกรณ์การเกษตรปากพะยูน จำกัด..1 ราย

🍀สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านทุ่งยาว จำกัด..1ราย

🍀กลุ่มทำนาตะโหมด..1 ราย

รวมมูลหนี้ทั้งสิ้นกว่า 6 ล้านเศษ โดยสามารถรักษาที่ดินของพี่น้องเกษตรกรไว้ได้ 12 แปลง🍄🍄เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรต่อไป..มีความหวังที่จะส่งมอบต่อให้ลูกหลาน..🌿🧡🌿ไม่ต้องนอนผวาอีกแล้ว..เพราะกลัวที่ดินจะถูกขายทอดตลาด

🌹🌹🌹 พร้อมกันนี้ ได้ร่วมหารือเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของพี่น้องเกษตรกรสมาชิกรายอื่นๆต่อไปและทำอย่างไรให้มีการสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน ในหลักเกณฑ์และขั้นตอนการจัดการหนี้ของเกษตรกร

👉👉ทั้งนี้..หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดพัทลุงได้กล่าวถึงการจัดเวทีเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทั้ง 3 ฝ่ายทั้งเจ้าหนี้

ที่เป็นสถาบันเกษตรกรที่สามารถรักษาสถานะทางการเงินไม่กระทบต่อการก่อให้เกิดหนี้เสียกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ก็สามารถเข้า

ชำระหนี้แทน หรือสามารถซื้อทรัพย์คืนแล้วแต่กรณีส่วนและพี่น้องเกษตรกร ก็ผ่อนคลายความเดือดร้อน มีความมั่นใจว่ายังมีที่ดินที่สามารถทำ

การเกษตรที่มั่นคงและส่งต่อให้ลูกหลานต่อไป