ประชุมคณะอนุกรรมการฯ สาขาจังหวัดพัทลุง ครั้งที่ 7/2567

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูเเละพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุง โดยนางสาวนิธิมา บินตำมะหงง หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัด ในฐานะเลขานุการอนุกรรมการฯ จัดประชุมคณะอนุกรรมการฯ สาขาจังหวัดพัทลุง ครั้งที่ 7/2567 โดยมีนายโอภาส หนูชิต เป็นประธานในที่ประชุม

🧡💚การประชุมพิจารณาตามระเบียบวาระ และมีมติที่สำคัญๆ ดังนี้

🌷รับทราบผลการดำเนินงานประจำเดือนมิุนายน 2567 ที่ผ่านมา

🌿รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 6/2567

🌿พิจารณาแผนงานและปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม 2567 ของสำนักงานสาขาจังหวัด

🌿พิจารณาเพิ่มเติมสมาชิกในองค์กรเดิมจำนวน 5 องค์กร สมาชิก 7 ราย

🌿พิจารณาเห็นชอบและรับรองการอนุมัติของนายทะเบียนให้ขึ้นทะเบียนหนี้ จำนวน 20 ราย 46 บัญชี มูลหนี้ 26,068,400.50 บาท ไม่อนุมัติให้ขึ้นทะเบียนหนี้ จำนวน 5 ราย 9 บัญชี มูลหนี้ 8,266,000.00 บาท

🌿ทบทวนการพิจารณาคำร้องอุทธรณ์ของเกษตรกร ให้ผ่านการอุทธรณ์ 2 ราย 3 บัญชี เพื่อตรวจสอบเอกสารและข้อเท็จจริงอีกครั้ง

🧚‍♀️🧚‍♀️ ณ ร้อยหวันพันธุ์ป่า ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

🌷🌷🌷ทั้งนี้ทางสำนักงานสาขาจังหวัดพัทลุง ขอขอบคุณคณะอนุกรรมการฯทุกท่าน ทั้งหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน เเละตัวเเทนจากกลุ่มองค์กรเกษตรกรที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจของกองทุนฯ ต่อไป

ลงพื้นที่ติดตามหนี้ ซึ่งมีเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 ราย ณ สหกรณ์การเกษตรเกษตรชะมวง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เวลา 13:30น.

#สำนักงานกองทุนฟื้นฟูเเละพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพัทลุง โดย…นางสาวนิธิมา บินตำมะหงง หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดพร้อมด้วยอนุกรรมการฯ นางบุญเรือน กีรติธีรพัฒน์ เเละนายอภิวัฒน์ จันทร์รักษ์ เเละบุคลากรโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรฯ (ปคน.) นางสาวณัฐณิชา ศรียา และ นายภูชิชย์ สุวรรณสุนทร ลงพื้นที่ติดตามหนี้ ซึ่งมีเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 ราย ณ สหกรณ์การเกษตรเกษตรชะมวง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

ลงพื้นที่ติดตามกลุ่มองค์กรที่ได้รับงบกู้ยืม กลุ่มเขาปู่สามัคคี

วันที่ 25 กรกฎาคม 2567

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูเเละพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุง โดย..

นางสาวนิธิมา บินตำมะหงง หัวหน้าสำนักงานสาขา จังหวัด..พร้อมด้วย บุคลากรสำนักงาน ลงพื้นที่ติดตามกลุ่มองค์กรที่ได้รับงบกู้ยืม กลุ่มเขาปู่สามัคคี อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง… เป็นองค์กรเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ โดยทางกลุ่มได้ดำเนินการเลี้ยงเเพะ เพื่อจำหน่าย ซึ่งแพะเป็นสัตว์ที่หากินเองเก่งมาก ทนต่อทุกสภาพอากาศได้ดี ไม่ว่าจะร้อน ฝน หรือหนาวก็อยู่ได้หมด เเต่เนื่องจากเกิดปัญหาราคาเเพะตกต่ำจึงหันมาเลี้ยงหมูหลุม “หมูหลุม” เป็นภาษาชาวบ้านที่เลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก โดยใช้วัสดุรองพื้นมีแนวคิดตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์เกษตรในฟาร์ม วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร ดิน พืช สัตว์ จุลินทรีย์ พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด น้ำและดิน นำมาปลูกพืชเลี้ยงสัตว์กินพืช นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน

จัดเวทีลงพื้นที่ร่วมพูดคุย เเละเสนอเเนวทางเเก้ไขปัญหากรณีเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้สถาบันเจ้าหนี้ธกส.สาขาศรีบรรพต

วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เวลา 10:00น.

#สำนักงานกองทุนฟื้นฟูเเละพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพัทลุง โดย…นางสาวนิธิมา บินตำมะหงง หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดพร้อมด้วยอนุกรรมการฯ นางบุญเรือน กีรติธีรพัฒน์ เเละนายอภิวัฒน์ จันทร์รักษ์ เเละบุคลากรโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรฯ (ปคน.) นางสาวณัฐณิชา ศรียา และ นายภูชิชย์ สุวรรณสุนทร จัดเวทีลงพื้นที่ร่วมพูดคุย เเละเสนอเเนวทางเเก้ไขปัญหากรณีเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้สถาบันเจ้าหนี้..ธนาคารเพื่อการเกษตรเเละสหกรณ์การเกษตร สาขาศรีบรรพต โดยมี นางสาวเพ็ญนภา ชูสังข์ ผู้จัดการสาขาศรีบรรพต เเละเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ ร่วมกันหารือ เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน ซึ่งมีเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 18 ราย ณ ที่ทำการกลุ่มเขาปู่สามัคคี อ.ศรีบรรพต

เกษตรกรชื่นมื่นได้รับงบสนับสนุนฟื้นฟูอาชีพ

วันที่ 18 กรกฎาคม 2567

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูเเละพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุง โดย นางสาวนิธิมา บินตำมะหงง หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดพร้อมด้วยอนุกรรมการฯ นางบุญเรือน กีรติธีรพัฒน์ และบุคลากร ลงพื้นที่

🎉เพื่อติดตามความพร้อมขององค์กรเกษตรกร..สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ

🎉ตรวจสอบความถูกต้องเอกสารประกอบการเบิกจ่าย

🎉เพื่อส่งมอบเช็คและร่วมลงนาม

🎉ร่วมกำหนดปฎิทินและแผนการดำเนิน

โครงการภายในระยะเวลาที่กำหนด

ในสัญญาโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร..ของ

กลุ่มเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมืองหมู่2 ซึ่งได้รับงบประมาณ

สนับสนุนฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ..ภายใต้งบประมาณ

ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร..(งบ 30 ล้าน)

🌿🌿🌿โดยกลุ่มได้รับการพิจารณาจากกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟผุและพัฒนาเกษตรกร จำนวน

เงิน 500,000 บาท เพื่อต่อยอดโครงการ..

🌿โครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน🌿

โดยดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูอาชีพ 2 กิจกรรม

🐂กิจกรรมเลี้ยงวัวหลุม

🍀กิจกรรมปลูกพลูเพื่อสร้างรายได้

ลงพื้นที่ปรับปรุงและพัฒนาแผนโครงการขององค์กรเกษตรกร..กลุ่มเกษตรกรบ้านวังปริง กลุ่มเกษตรกรบ้านควนกล้วย และกลุ่มส่งเสริมการเกษตรมุสลิม

🩷กฟก.พัทลุง🩷..ลุยงานฟื้นฟู…

หวังพลิกฟื้นเกษตรกรรวมกลุ่มสร้างรายได้

🌿🌿🌿🌿🌿..เมื่อวันที่17 กรกฎาคม 2567

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูเเละพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุง โดยนางสาวนิธิมา บินตำมะหงง หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัด พร้อมด้วยอนุกรรมการฯ นางสาวกัลยา บัวนาค และนายวิวัฒน์ หนูมาก และบุคลากรสำนักงาน ลงพื้นที่ปรับปรุงและพัฒนาแผนโครงการขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรบ้านวังปริง กลุ่มเกษตรกรบ้านควนกล้วย และกลุ่มส่งเสริมการเกษตรมุสลิม อ.กงหรา จ.พัทลุง

🍄โครงการพัฒนาอาชีพเลี้ยงไก่สามสายเลือด

🍄โครงการพัฒนาอาชีพเลี้ยงเป็ดบาบารี

🍄โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถัวหรั่งและเครื่องแกงพื้นบ้าน

ลงพื้นที่ปรับปรุงและพัฒนาแผนโครงการขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรบ้านทุ่งลาน ม.11 ต.ปันแต

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูเเละพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุง โดยนางสาวนิธิมา บินตำมะหงง หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดพัทลุง.. พร้อมด้วยอนุกรรมการฯ นางบุญเรือน กีรติธีรพัฒน์ และนายณัฏฐ์ดนัย สุขสวัสดิ์ และบุคลากรสำนักงาน ลงพื้นที่ปรับปรุงและพัฒนาแผนโครงการขององค์กรเกษตรกร. กลุ่มเกษตรบ้านทุ่งลาน ม.11 ต.ปันแตซึ่งเสนอโครงการ”ฟื้นฟูอาชีพการทำเขียงเพื่อพัฒนาตลาดอุปกรณ์ครัวไทยสู่ครัวโลก”

เป็นที่ทราบกันดีว่า..อาขีพหนึ่งที่สืบทอดจากภูมิปัญญาพื้นถิ่นของเกษตรกรพัทลุง..คือการทำเขียง..ที่มีฝีมือเลื่องชื่อ..สามารถจำหน่ายทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด..โดยใช้ไม้ที่มีลวดลาย และความคงทน อาทิ ไม้มะขาม ไม้นนทรี ฯลฯ..และเห็นว่าปัจจุบัน มีการทำเขียง ในรูปแบบใหม่ๆ..ที่เหมาะสำหรับคนรัวคนนรุ่นใหม่แต่กลุ่มยังขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ในการต่อยอด หากได้มีการสนับสนุนจากกองทุนฯ จะสามารถสร้างอาขีพให้สมาขิกในองค์กร พัฒนาเขียงในรูปแบบที่ทันสมัยพัฒนาแบรนด์สินค้า และช่องทางการตลาดที่กว้างขึ้นนอกจากนี้ กลุ่มยังได้ส่งเสริมให้สมาชิกปลูกต้นไม้เพื่อทดแทนการใช้ต้นไม้และนำเศษไม้มาพัฒนาต่อยอดเป็นถ่านและขายเป็นขี้เลื่อยที่มีคุณภาพ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ..ที่สามารถจำหน่ายควบคู่กับเขียง เช่น ด้ามมีด และอื่นๆ ต่อไป

ร่วมประชุมกับตัวแทนคณะกรรมการบูรณาการฯ 11 กลุ่มจังหวัด

🌷🌷วันที่..12 กรกฎาคม 2567…

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุง โดยนางสาวนิธิมา บินตำมะหงง หัวหน้าสำนักงาน ในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการ

บูรณาการฯ กลุ่มจังหวัดที่ 11พร้อมด้วยหัวหน้า สำนักงานสาขาจังหวัดสตูล นายศายันต์ คณะแนมเลขานุการกลุ่มจังหวัดเป็นตัวแทนกลุ่มจังหวัดที่11

ร่วมประชุมกับตัวแทนคณะกรรมการบูรณาการฯ 11 กลุ่มจังหวัด หัวหน้าส่วนและตัวแทนสำนักทุกสำนัก โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้..🌷🌷

🌿ทบทวนยุทธศาสตร์ ..กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนา..ตามภารกิจของกองทุนฯ

🌿ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานประจำปี 2567 ให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร

👉👉โดยมีนายสไกร พิมพ์บึง..เลขาธิการสำนักงานฯ..ได้กล่าวเปิดการประชุม และมอบนโยบาย

ที่ต้องเร่งขับเคลื่อนกองทุนฯ..ในไตรมาส 4/2567

ลงพื้นที่ตรวจสอบความมีอยู่จริงของหนี้และแสดงความประสงค์ให้ชำระหนี้แทนฯ (คปร.)

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2567 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุง โดยนางสาวนิธิมา บินตำมะหงง หัวหน้าสำนักงาน สาขาจังหวัดพัทลุง มอบหมายให้ นางสาวสิริพร หมัดเลขา พนักงานอาวุโส

🏅🏅ลงพื้นที่ตรวจสอบความมีอยู่จริงของหนี้และแสดงความประสงค์ให้ชำระหนี้แทนกรณีหนี้โครงการส่งเสริมของรัฐ (คปร.) ในพื้นที่อำเภอควนขนุน จำนวน 5 ราย

ลงพื้นที่พัฒนาแผนโครงการของกลุ่มกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรรวมมิตรพัทลุง

#พัฒนาแผนโครงการขององค์กรเกษตรกร

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 …เวลา 13.30 น.สำนักงานกองทุนฟื้นฟูเเละพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพัทลุง โดย นางสาวนิธิมา บินตำมะหงงหัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัด พร้อมด้วยบุคลากรและรองประธานอนุกรรมการฯ นางบุญเรือน กีรติธีรพัฒน์ ร่วมลงพื้นที่พัฒนาแผนโครงการขององค์กรเกษตรกรร่วมกับกรรมการและสมาชิกกลุ่มกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรรวมมิตรพัทลุงเพื่อให้โครงการมีความสมบูรณ์และมีความเป็นไปได้…

🌿🌿กลุ่มนี้ขอเสนอโครงการ..2 กิจกรรม

💥เลี้ยงปลาในระบบไบโอฟล็อก (Biofloc) เป็นการเลี้ยงโดยใช้ชีวภาพบำบัด สามารถลดต้นทุนด้านอาหาร และทำให้ได้ปลาที่มีคุณภาพ

💥การเลี้ยงนกกระจอกเทศ เพื่อสร้างรายได้